เตรียมความพร้อม โรคปากเท้าเปื่อยที่กำลังจะมา

Foot and Mouth Disease, FMD หรือโรคปากและเท้าเปื่อย ถือเป็นโรคประจำถิ่นในประเทศไทย โดยก่อโรคในสัตว์กีบคู่อย่าง โค กระบือ แพะ แกะ สุกร และในสัตว์ป่าบางชนิด เช่น ช้าง ยีราฟ นอกจากนี้ยังสามารถก่อโรคในสัตว์ที่ไม่ใช่สัตว์กีบคู่ได้ เช่น เม่นแคระ หนูแกสบี้ เป็นต้น แม้จะเป็นโรคที่อัตราการตายต่ำ แต่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตสูง

อาการและรอยโรค

โดยเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคคือ ไวรัสปากและเท้าเปื่อยทั้งหมด 7 ชนิด ได้แก่ O, A, C, SAT 1, SAT 2, SAT 3 และ Asia 1 ระบาดในไทย 3 ชนิด ได้แก่ A O และ Asia 1 โดยเชื้อจะทำให้สัตว์แสดงอาการป่วยเหมือนกันแต่ไม่สามารถให้ภูมิคุ้มกันต่างชนิดกันได้

FMD ชนิด SAT2 เป็นสายพันธุ์ที่ระบาดในทวีปแอฟริกาเป็นหลัก แต่ในปี 2566 เริ่มพบการระบาดในประเทศกลุ่มตะวันออกกลางหลายประเทศ และล่าสุดพบรายงานการเกิดโรคในตุรกี ซึ่งเป็นครั้งแรกที่พบการระบาดข้ามมายังทวีปเอเชีย กรมปศุสัตว์จึงประกาศเฝ้าระวังสายพันธุ์ใหม่นี้หวั่นซ้ำรอยโรคลัมปี สกิน และที่สำคัญ วัคซีน FMD ที่ไทยไม่ครอบคลุมเชื้อชนิดนี้ หากมีการระบาดอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์จะเสียหายเป็นอย่างมาก

การป้องกันและรักษา

ผู้ประพันธ์บทความ
Budsayamad

บทความ อื่นๆ